วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556



ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตทางการศึกษา 

1. ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตที่มีต่อผู้เรียน        อินเทอร์เน็ตทำให้ผู้เรียนมีโอกาสได้รับความรู้ใหม่ ได้เรียนรู้วัฒนธรรมที่หลากหลาเรียนรู้ประสบ การณ์จากสภาพความเป็นจริงของโลกปัจจุบันเกิดทักษะความคิดขั้นสูงและ เป็นการช่วยเพิ่มแรงจูงใจในการเรียนรวมถึงเป็นการฝึกให้เกิดทักษะการเขียนด้วยเหตุผลสนับสนุนดังต่อไปนี้   1.1 การศึกษาวัฒนธรรมที่หลากหลาย ในสังคมผู้สอนจะเน้นให้ผู้เรียนเข้าใจและยอมรับวัฒนธรรม
ที่แตกต่างจากตนเอง การสอนให้ผู้เรียนยึดแต่วัฒนธรรมแบบเดิมจะเป็นการเตรียมผู้เรียนให้เป็นคนที่ไม่สามารถทำงานร่วมเป็นกลุ่มได้ ประโยชน์จากการใช้อินเทอร์เน็ต คือ การส่งเสริมให้ผู้เรียนมีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนคนอื่นที่มีภูมิหลังต่างจากตนเอง การสื่อสารทางไกลทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและความเคารพในวัฒนธรรมต่างแดนมากขึ้น
   1.2 เรียนรู้ประสบการณ์จากสภาพที่เป็นจริง การเรียนในโรงเรียนจะได้ประโยชน์อย่างมากเมื่อได้จัดกิจกรรมให้สัมพันธ์กับแหล่งข้อมูล อินเทอร์เน็ตทำให้ผู้เรียนเข้าถึงข้อมูลที่ทันสมัย เมื่อเปรียบเทียบกับการเรียนแบบเดิม แล้วพบว่าการสื่อสารทางไกลเปิดโลกทัศน์ของผู้เรียนให้กว้างขึ้น    1.3 การเพิ่มทักษะการคิดอย่างมีระบบ ผู้เรียนที่ใช้การสื่อสารทางไกลจะมีทักษะการคิดแบบสืบสวนสอบสวนและทักษะการคิดอย่างมีระบบ เพราะลักษณะของการใช้อินเทอร์เน็ตที่ผู้เรียนต้องมีทักษะการคิดวิเคราะห์ในการเลือกรับข้อมูลและได้สื่อสารกับผู้เชี่ยวชาญ   1.4 สร้างแรงจูงใจให้มีทักษะในการเขียน ผู้เรียนที่มีประสบการณ์การใช้การ-สื่อสารทางไกลจะมีความสามารถในการเขียนเพิ่มขึ้น นอกจากนี้กิจกรรมดังกล่าวยังช่วยให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ในการเขียนและเพิ่มแรงจูงใจให้มีการเขียนและแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์กับเพื่อนผู้ร่วมอภิปราย2. ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตที่มีต่อผู้สอน          เมื่อมีการใช้อินเทอร์เน็ตทำให้ผู้สอนสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลทางการศึกษา การวิจัย การวางแผนการสอนและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกับผู้เชี่ยวชาญที่เชื่อมต่อเข้าสู่ระบบเช่นกัน คุณค่าของการเปิดรับข้อมูลทำให้ได้รับรู้กลยุทธ์การสอนที่หลากหลาย สามารถนำมาปรับปรุงประสิทธิภาพของการเรียนการสอนที่เป็นประโยชน์ทั้งผู้เรียนและผู้สอน    2.1 การสอนแบบร่วมมือ (collaborative) ทำให้ผู้สอนมีความสามารถเพิ่มขึ้นเมื่อใช้วิธีการสอนแบบร่วมมือผ่านเครือข่าย เช่น การออกแบบให้มีสภาพและการประชุมระหว่างผู้สอนเพื่ออภิปรายประเด็นอันหลากหลาย เช่น การบริหารโรงเรียนการประเมิน แนวทางการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ เป็นต้น อินเทอร์เน็ตยังเป็นการเพิ่มโอกาสในการศึกษาต่อของผู้สอนอีกด้วย     2.2 กลยุทธ์การสอนที่หลากหลาย เมื่อมีการสื่อสารทางไกลทำให้การสอนเปลี่ยนทิศทาง การใช้อินเทอร์เน็ตเป็นการช่วยเพิ่มเวลาที่ผู้เรียน ทำให้ติดต่อสื่อสารกับผู้สอนเป็นรายบุคคลมากขึ้น ลดเวลาในการจดคำบรรยายในชั้นเรียนและทำให้ผู้เรียนมีเวลาทำรายงานมากขึ้น    2.3 พัฒนาหลักสูตร เมื่อการสื่อสารทางไกลด้วยอินเทอร์เน็ตมีอิทธิพลกับหลักสูตร ทำให้ประเด็นในการเรียนการสอนสอดคล้องกับสภาพของสังคมมากขึ้น ยกระดับของทักษะ ความคิดในการวิเคราะห์ ข้อมูลที่ได้จากการเรียนด้วยการใช้สื่อผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแตกต่างจากสิ่งที่สอนในห้องเรียน เพราะ เป็นวิธีการที่นำไปสู่โครงการที่เขียนจากความร่วมมือของทุกฝ่าย อินเทอร์เน็ตทำให้ได้ข้อสรุปจากหน่วยงาน ได้แลกเปลี่ยนข้อมูลกับผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพนอกจากการสอนแบบเดิมผู้สอนและผู้เรียนสามารถใช้ข้อมูลจากสารานุกรม หนังสือ เอกสารงานวิจัย และโปรแกรมซอฟต์แวร์เพื่อการศึกษาจากอินเทอร์เน็ต3. ประโยชน์ที่มีต่อผู้เชี่ยวชาญการผลิตสื่อ        ทำให้ได้พบกับแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ที่ดีกว่า ประหยัดเวลากว่าและพบผลงานที่แตกต่างจากในท้องถิ่นของตนเอง    3.1 แหล่งข้อมูลความรู้ การใช้อินเทอร์เน็ตทำให้ได้พบกับแหล่งข้อมูล เช่น นิตยสาร วารสาร ฐานข้อมูล ผลการวิจัย การสำรวจความคิดเห็น ภาพกราฟิก เสียง ภาพยนตร์และซอฟต์แวร์ เหมือนกับย่อโลกทั้งใบมาไว้ในจอคอมพิวเตอร์    3.2 ข้อมูลที่ทันสมัย ข้อมูลในอินเทอร์เน็ตเป็นข้อมูลที่ทันสมัยเหมาะกับการศึกษา ความสามารถในการติดต่อกับผู้เชี่ยวชาญทำให้ได้รับข้อมูลแบบปฐมภูมิได้คำตอบครบประเด็นกับปัญหาที่ถาม และการได้รับทราบความคิดเห็นจากแหล่งอื่นอีกทั้งยังมีการเชื่อมโยงเอกสารไปยังห้องสมุดหรือแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง    3.3 เครื่องมือสอนให้ผู้เรียนมีทักษะ อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือที่ทำให้ผู้เรียนมีทักษะในการศึกษาวิจัย ผู้เรียนสามารถตั้งสมมติฐาน วิเคราะห์และทำรายงานได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง เพราะมีระบบและเครื่องมือในการสืบค้นมากมายและทำให้ผลที่จัดทำขึ้นมีแหล่งข้อมูลอ้างอิงจำนวนมาก    3.4 การพบปะกับสมาชิก พบว่าเหตุผลอันดับหนึ่งสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารต่อการใช้อินเทอร์เน็ต คือ ความสะดวก ประหยัดเวลา ความเป็นหมวดหมู่ สามารถสื่อสารกับสมาชิกอื่น ๆ ทั่วโลกโดยเสียค่าใช้จ่ายที่ไม่สูง และช่วยลดความรู้สึกว่าทำงานอยู่คนเดียวในโรงเรียน4. ประโยชน์ที่มีต่อเจ้าหน้าที่       ในระดับของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน การใช้อินเทอร์เน็ตช่วยลดความซับซ้อน การจัดเตรียมและเอกสาร เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างยิ่งในการรับและปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องรับและส่งข้อมูลภายนอกองค์กร   4.1 การจัดการเอกสาร การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการสื่อสารเป็นการประหยัดงบประมาณ ลดการใช้กระดาษ มีความรวดเร็วมีประสิทธิผลและเป็นการบันทึกข้อมูล รวมถึงยังช่วยลดความผิดพลาดในการสื่อสารผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์อีกด้วย   4.2 การสื่อสารภายนอกองค์กร การใช้อินเทอร์เน็ตทำให้เจ้าหน้าที่ได้รับข้อมูลที่ทันสมัยทันทีจากที่ประชุมทางการศึกษา การวิจัย และจากผู้สอน การติดต่อกับธุรกิจเอกชนหรือหน่วยงานอื่น ๆ ก็ต้องใช้อินเทอร์เน็ต5. ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตที่มีต่อการสื่อสาร        การใช้อินเทอร์เน็ตเป็นแนวทางที่ดีที่ทำให้การสื่อสารระหว่างโรงเรียน กองทุนสนับสนุนการศึกษา โครงการเพื่อการศึกษา องค์กรพิเศษอื่น ๆ และอาสาสมัคร ในการเชื่อมโยงไปถึงผู้นำธุรกิจในท้องถิ่น ผู้เชี่ยวชาญและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานที่สามารถเข้าใช้อินเทอร์เน็ตได้   5.1 การสื่อสารกับโรงเรียน การใช้อินเทอร์เน็ตทำให้ผู้ปกครองมีโอกาสเป็นผู้ช่วยกำหนดการบ้านของบุตรหลาน และยังได้ร่วมประชุมกับครูหรือผู้ปกครองคนอื่นด้วย    5.2 กิจกรรมการสื่อสารของผู้เรียน การใช้อินเทอร์เน็ตทำให้ผู้สูงอายุและผู้ที่ไม่มีโทรศัพท์ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้เรียน ผู้เรียนจำนวนมากได้รับคำแนะนำ คำอบรมสั่งสอนที่มีค่าจากผู้สูงอายุผ่านทางอินเทอร์เน็ต1. ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตที่มีต่อผู้เรียน 

          จาก : http://khunphanz.blogspot.com/2012/09/blog-post_10.html


คลิปจากยูทูปเกี่ยวกับการใช้งานอินเทอร์เน็ต


ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต

ข้อปฏิบัติและมารยาทในการใช้อินเตอร์เน็ต
      อินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่ประกอบด้วยเครือข่ายย่อยจำนวนมากต่อเชื่อมเข้าด้วยกันจนกลายเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ โดยแต่ละเครือข่ายจะมีข้อกำหนดและระเบียบในการใช้งานแตกต่างกัน ดังนั้นผู้ที่เข้ามาใช้เครือข่ายจำเป็นต้องรับทราบและปฏิบัติตามแนวทางที่ผู้ดูแลเครือข่ายได้กำหนดไว้
  1.  ในการเริ่มใช้งานอินเตอร์เน็ตครั้งแรก ควรสอบถามผู้ดูแลระบบถึงข้อกำหนดและระเบียบการใช้เครือข่ายนั้นๆ และปฏิบัติตามข้อกำหนดเหล่านั้น
  2.  ใช้งานเท่าที่จำเป็น เมื่อใช้เสร็จแล้วควรออกจากระบบทันที ไม่ควรปล่อยเครื่องให้ติดต่อกับระบบตลอดเวลาทั้งที่ไม่ได้ใช้งาน เพราะจะทำให้ผู้อื่นติดต่อเข้าได้ยาก
  3.  ไม่ควรเข้าใช้อินเตอร์เน็ตในบัญชีของผู้อื่น หรือยอมให้ผู้อื่นใช้บัญชีของตนในการเข้าสู่อินเตอร์เน็ต
  4.  ควรรักษารหัสผ่านของตนไว้เป็นความลับ หากมีผู้รู้รหัสผ่านควรเปลี่ยนรหัสเสียใหม่ นอกจากนี้ ในการกำหนดรหัสผ่านควรหลีกเลี่ยงการใช้รหัสที่มีความเกี่ยวข้องอย่างใดอย่างหนึ่งกับตน เพราะจะทำให้ผู้ที่ไม่ประสงค์ดีสามารถคาดเดา และเชื่อมโยงเข้าสู่รหัสผ่าน อันอาจก่อให้เกิดความเสียหายกับข้อมูลและกับระบบได้
  5. ในกรณีที่ต้องทำงานที่ใช้เวลามาก เช่น การโอนย้ายข้อมูล การดาวน์โหลดโปรแกรม ฯลฯ ควรเลือกทำในช่วงที่ไม่ค่อยมีผู้ใช้มากนัก
  6. ควรเปิดจดหมายอ่านเป็นประจำ และลบจดหมายที่ไม่ต้องการออก เพราะการปล่อยจดหมายทิ้งไว้เป็นจำนวนมาก จะทำให้พื้นที่สำหรับเก็บจดหมายในระบบหมด อันมีผลให้ไม่สามารถรับส่งจดหมายต่อไปได้
  7. พึงระลึกว่าจดหมายที่ส่งผ่านอินเตอร์เน็ตไม่ได้เป็นเรื่องลับ จึงไม่ควรส่งข้อมูลที่ต้องการให้เป็นความลับ และไม่ควรใช้ข้อความที่ก้าวร้าวหรือหยาบคาย
  8. ไม่ควรส่งจดหมายที่มีขนาดใหญ่ เพราะจะทำให้สิ้นเปลืองเนื้อที่ หากจดหมายมีขนาดใหญ่ควรบีบอัดข้อมูลก่อนส่ง และแจ้งให้ผู้รับทราบถึงวิธีการขยายข้อมูลกลับ
  9. ไม่ควรเขียนจดหมายด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ล้วนๆ เพราะทำให้อ่านยากและตาลายได้   นอกจากนี้ยังเปรียบเสมือนการคุยกันด้วยการตะโกน ซึ่งถือว่าไม่สุภาพ ควรใช้ตัวพิมพ์ใหญ่เฉพาะเมื่อต้องการเน้นข้อความเท่านั้น
  10. ระมัดระวังการใช้คำนำหน้าชื่อ เพราะบางคนถือว่าเป็นการไม่ให้เกียรติ หากใช้คำนำหน้าชื่อผิด โดยเฉพาะคำนำหน้าชื่อสุภาพสตรี และผู้ที่มีตำแหน่งต่างๆ


การบริการบนอินเทอร์เน็ต

รูปแบบของการให้บริการบนอินเตอร์เน็ตสามารถกระทำได้หลากหลาย เช่น  
       1. จดหมายอิเลคทรอนิกส์ (Electronic Mail)
      จดหมายอิเลคทรอนิกส์หรือที่เรียกกันว่า E-mailเป็นการสื่อสารที่นิยมใช้กันมากเนื่องจากผู้ใช้สามารถ
ติดต่อสื่อสารกับบุคคลที่ต้องการได้รวดเร็ว ภายในระยะเวลาอันสั้น ไม่ว่าจะอยู่ในที่ทำงานเดียวกันหรืออยู่ห่างกันคนละมุมโลกก็ตามนอกจากนี้ยังสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อยมาก
                                        องค์ประกอบของ e-mail address ประกอบด้วย 
                1. ชื่อผู้ใช้ (User name) 
                2. ชื่อโดเมน Username@domain_name 
                                          การใช้งานอีเมลสามารถแบ่งได้ดังนี้ คือ 
    1. Corporate e-mail คือ อีเมล ที่หน่วยงานต่างๆสร้างขึ้นให้กับพนักงานหรือบุคลากรในองค์กรนั้น เช่น u47202000@dusit.ac.th คือ e-mail ของนักศึกษาของสถาบันราชภัฏสวนดุสิต เป็นต้น 
    2. Free e-mail คือ อีเมล ที่สามารถสมัครได้ฟรีตาม web mail ต่างๆ เช่น Hotmail, Yahoo Mail, Thai Mail และ Chaiyo Mail 
     2. การสืบค้นข้อมูลแบบเครือข่ายใยแมงมุม (Wold Wide Web : WWW)
        เป็นการสื่อสารที่เติบโตเร็วที่สุดในอินเตอร์เน็ต ด้วยเหตุผลที่สำคัญคือง่ายต่อการใช้งานและสามารถนำเสนอข้อมูลกราฟิกได้ การใช้ World Wide Web เปรียบเสมือนการเข้าไปอ่านหนังสือในห้องสมุดโดยหนังสือที่มีให้อ่านจะสมบูรณ์มากกว่าหนังสือทั่วไป เพราะสามารถฟังเสียงและดูภาพเคลื่อน ไหวประกอบได้ นอกจากนี้ยังสามารถโต้ตอบกับผู้อ่านได้ด้วย ลักษณะเด่นอีกประการหนึ่งคือข้อมูล
ต่าง ๆ จะมีการเชื่อมโยงถึงกันได้ด้วยคุณสมบัติ
ของ HyperText Link
      WWW คืออะไร การใช้งานอินเตอร์เน็ตแบบ WWW (World Wide Web) เป็นเครื่องมือในการ
ให้บริการข้อมูลข่าวสารบนอินเตอร์เน็ตที่ใช้ได้ง่าย สามารถชมได้ทั้งภาพนิ่ง เสียง VDO แม้แต่ส่ง
 Pager หรือจะสั่ง Pizza ก็ได้
       ในปัจจุบันมีโปรแกรมในลักษณะของ WWW อยู่หลายตัวและหลายเวอร์ชั่นมากมาย แต่ละตัว
จะเหมาะกับเครื่องคอมพิวเตอร์หลากหลายชนิด โปรแกรมที่จะพาผู้ใช้เข้าถึงบริการในลักษณะของ WWW เรียกว่า "บราวเซอร์" (Browser) ตามลักษณะของการใช้บริการดังกล่าวที่ดูเสมือนการเปิด หนังสือดู ไปทีละหน้า เหมือนการใช้ Online Help นั่นเอง 
      3. การโอนย้ายข้อมูล (File Transfer Protocol : FTP)
         การโอนย้ายข้อมูล หรือที่นิยมเรียกกันว่า FTP เป็นการสื่อสารอีกรูปแบบหนึ่งที่ใช้กันมากพอ
สมควรใน
อินเตอร์เน็ต โดยอาจใช้เพื่อการถ่ายโอนข้อมูลรวมถึงโปรแกรมต่าง ๆ ทั้งที่เป็น freeware sharewareจากแหล่ง ข้อมูลทั้งหลายมายังเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ใช้งานอยู่ ปัจจุบันมีหน่วย
งานหลายแห่งที่กำหนดให้ Server
ของตนทำหน้าที่เป็น FTP site เก็บรวบรวมข้อมูลและโปรแกรมต่าง ๆ สำหรับให้บริการ FTP ที่นิยมใช้กันมากได้แก่ WS_FTP, CuteFTP 
                                         การโอนย้ายไฟล์สามารถแบ่งได้ดังนี้ คือ 
     1. การดาวน์โหลดไฟล์ (Download File ) การดาวน์โหลดไฟล์ คือ การรับข้อมูลเข้ามายังเครื่อง
คอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ ในปัจจุบันมีหลายเว็บไซต์ที่จัดให้มีการดาวน์โหลดโปรแกรมได้ฟรี เช่น www.download.com 
     2. การอัพโหลดไฟล์ (Upload File) การอัพโหลดไฟล์คือการนำไฟล์ข้อมูลจากเครื่องของผู้ใช้ไป
เก็บไว้ในเครื่องที่ให้บริการ (Server) ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เช่นกรณีที่ทำการสร้างเว็บไซต์ จะมีการอัพโหลด ไฟล์ไปเก็บไว้ในเครื่องบริการเว็บไซต์ (Web server ) ที่เราขอใช้บริการพื้นที่ (web server) โปรแกรมที่ช่วยในการอัพโหลดไฟล์เช่น FTP Commander 
     3. การแลกเปลี่ยนข่าวสาร (USENET) การสื่อสารประเภทนี้มาที่มาจากกระดานประกาศข่าว หรือ   Bulletin Board    กล่าวคือ ผู้ที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน จะรวมกลุ่มกันตั้งเป็นกลุ่มข่าวของแต่ละประเภท เมื่อมีข้อมูลใหม่ที่จะเป็นประโยชน์ต่อสมาชิกผู้อื่น หรือมีปัญหาหรือคำถามที่ต้องการความ
ช่วยเหลือหรือคำตอบ ผู้นั้นก็จะส่งข้อมูลของตน
เข้าไปติดประกาศไว้ในอินเตอร์เน็ต โดยเครื่องที่ทำหน้าที่ติดประกาศ คือ News Server เมื่อสมาชิกอื่นอ่านพบ ถ้ามีข้อมูลเพิ่มเติมหรือมีบางอย่างไม่ถูก
ต้อง หรือมีคำตอบที่จะช่วยแก้ปัญหาให้ได้ สมาชิกเหล่านั้นก็จะส่งข้อมูล
ตอบกลับไปติดประกาศไว้
เช่นกัน
      4. การเข้าใช้เครื่องระยะไกล (Telnet) Telnet เป็นการขอเข้าไปใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น
 ที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตจากระยะไกล โดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องไปนั่งอยู่หน้าเครื่อง เครื่องคอมพิว
เตอร์ดังกล่าวนี้อาจอยู่ภายในสถานที่เดียวกับผู้ใช้ หรืออยู่ห่าง
กันคนละทวีปก็ได้ แต่ทั้งนี้ผู้ใช้ต้องมี account และรหัสผ่านจึงจะสามารถเข้าใช้เครื่องดังกล่าวไดส่วนคำสั่งในการ ทำงานนั้นขึ้นอยู่กับ
ระบบปฏิบัติการของเครื่องที่เข้าไปขอใช้
      5. การสนทนาผ่านเครือข่าย (Talk หรือ Chat) เป็นการติดต่อสื่อสารแบบ 2 ทาง คือสามารถสื่อสารโต้ต อบกันได้ทันทีเหมือนการใช้โทรศัพท์ ในการสนทนาผ่านเครือข่ายนี้สามารถทำได้ทั้งแบบ Text-based และ Voice-based โดยในระยะแรกจะจำกัดเฉพาะ Text-based คือใช้วิธีการพิมพ์เป็นข้อความใน
การสื่อสารโต้ตอบระหว่างกัน โปรแกรมที่นิยมใช้คือ Talk และ IRC (Internet Relay Chat) ต่อมาเมื่อมี
การพัฒนามากขึ้นทั้งด้าน Hardware และ Softwareทำให้ปัจจุบัน เราสามารถสทาอสารกันทาง Voice-based ได้ด้วย โปรแกรมที่ใช้ในการสื่อสารประเภทนี้ เช่น NetMeeting ของไมโครซอฟต์ หรือ Inter
Phone ของ Vocaltec ฯลฯ


ความรู้เบื้องต้นเรื่องระบบชื่อโดเมน

ระบบชื่อโดเมน (Domain Name System) หรือ ดีเอ็นเอส (DNS)  เป็นระบบการตั้งชื่อให้กับ "ทรัพยากรเครือข่าย” แต่ที่พบโดยทั่วไปคือการตั้งชื่อโฮสต์เพื่อใช้แทนไอพีแอดเดรส ดีเอ็นเอสเป็นระบบชื่อที่มีฐานข้อมูลแบบกระจาย โดยไม่มีหน่วยงานหรือสถาบันใดควบคุมหรือมีฐานข้อมูลเดี่ยวครอบคลุมทั้งอินเทอร์เน็ต แต่ละเครือข่ายในอินเทอร์เน็ตจะมีดีเอ็นเอสเซอร์ฟเวอร์เก็บรักษาฐานข้อมูลและบริหารข้อมูลอย่างอิสระ เพื่อให้ไคลเอ็นต์ขอบริการสอบถามข้อมูลตามแบบโปรโตคอลที่กำหนด ดีเอ็นเอสจึงเป็นทั้งระบบการตั้งชื่อและโปรโตคอลรวมอยู่ด้วยกัน
การติดต่อกับผู้ใช้งานประจำเครื่องใดๆ เช่นการส่งอิเล็กทรอนิกส์เมลอาจใช้ไอพีแอดเดรสระบุถึงคอมพิวเตอร์ปลายทางได้เช่น somchai@176.16.0.1 หรือใช้เบราเซอร์เปิดอ่านเว็บเพจโดยใช้ http://192.0.34.65 แต่การใช้ไอพีแอดเดรสดังตัวอย่างที่กล่าวมานั้นไม่อำนวยสะดวกต่อการจดจำ ในอินเทอร์เน็ตจึงใช้วิธีตั้งชื่อให้กับเครื่องเพื่อให้ผู้ใช้จดจำได้ง่ายกว่าตัวอย่างเช่นอีเมลแอดเดรสข้างต้นอาจเขียนแทนด้วย somchai@ku.ac.th หรือการเปิดอ่านเว็บเพจโดยใช้ http://www.isoc.org
เมื่อใช้ชื่อแทนไอพีแอดเดรสสำหรับเรียกใช้บริการหนึ่งๆ โปรแกรมประยุกต์ที่เกี่ยวข้องกับบริการนั้นจะใช้กลไกของระบบเพื่อแปลงชื่อไปเป็นไอพีแอดเดรสและนำไอพีแอดเดรสนั้นติดต่อไปยังคอมพิวเตอร์ปลายทางต่อไป



               
ประวัติของอินเทอร์เน็ต

                                                         อินเทอร์เน็ต(Internet) คืออะไร
          อินเทอร์เน็ต(Internet)คือ เครือข่ายนานาชาติ ที่เกิดจากเครือข่ายเล็ก ๆ มากมาย รวมเป็นเครือข่าย เดียวกันทั้งโลก หรือทั้งจักรวาล
          อินเทอร์เน็ต(Internet)คือ เครือข่ายสื่อสาร ซึ่งเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ที่ต้องการเข้ามา ในเครือข่าย
          อินเทอร์เน็ต(Internet)คือ การเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่ายอินเทอร์เน็ต(Internet)คือ เครือข่ายของเครือข่าย (A network of network) สำหรับคำว่า internet หากแยกศัพท์จะได้ออกมา 2 คำ คือ คำว่า Inter และคำว่า net ซึ่ง Inter หมายถึงระหว่าง หรือท่ามกลาง และคำว่า Net มาจากคำว่า Network หรือเครือข่าย เมื่อนำความหมาย ของทั้ง 2 คำมารวมกัน จึงแปลได้ว่า การเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย

วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เลี้ยงกบ



เลี้ยงกบในบ่อปูนซีเมนต์

 
เงินลงทุน 

             ประมาณ 8,000 บาท ต่อการเลี้ยงกบในบ่อปูนซีเมนต์ 4 บ่อ

รายได้ 

             ครั้งแรก 16,000 - 24,000 บาท

วัสดุ/อุปกรณ์ 

             แม่พันธุ์-พ่อพันธุ์กบ ไม้ไผ่ทำแพหรือแผ่นโฟมทางมะพร้าว บ่อซีเมนต์ อาหารเม็ดสำหรับเลี้ยงลูกกบและกบโต

แหล่งจำหน่ายพันธุ์กบ 


            ฟาร์มเลี้ยงกบทั่วไป 

วิธีดำเนินการ
          1. การเลี้ยงกบควรเลือกพื้นที่เป็นที่สูงหรือที่ดอน มีลักษณะราบเสมอ ใกล้แหล่งน้ำ เพื่อสะดวกต่อการถ่ายเทน้ำ แต่ควรให้ห่างจากถนนเพื่อป้องกันเสียงรบกวน

          2. สร้างบ่อซีเมนต์ขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 1.5 เมตร สูง 1 เมตร เพื่อใช้เพาะพันธุ์กบ จำนวน 1 บ่อ และสร้างบ่อขนาดกว้าง 3 เมตร ยาว 4 เมตร จำนวน 3 บ่อ โดยก่อแผ่นซีเมนต์และฉาบด้วยปูนซีเมนต์ ปูนที่ฉาบควรหนาเป็นพิเศษ ตรงส่วนล่างที่เก็บขังน้ำสูงจากพื้น 1 ฟุต พื้นล่างเทปูนหนาเพื่อรองรับน้ำ และมีท่อระบายน้ำอยู่ตรงส่วนที่ลาดที่สุด

         3. พันธุ์กบที่จะเพาะเลี้ยง ควรเลือกกบนา เพราะเจริญเติบโตเร็ว และเป็นที่นิยมของผู้บริโภค กบนาตัวผู้มีขนาดเล็กกว่าตัวเมีย เมื่อจับพลิกหงายขึ้นจะเห็นกล่องเสียงอยู่ใต้คางแถวมุมปากส่วนตัวเมียมองไม่เห็นกล่องเสียง
การเพาะพันธุ์กบ 

             ล้างบ่อซีเมนต์ให้สะอาด ใส่น้ำลงไปให้ได้ความลึกประมาณครึ่งฟุต แล้วหาวัชพืชน้ำมาใส่ไว้เพื่อให้ไข่กบเกาะ จากนั้นนำพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์กบ 1คู่มาใส่ไว้รวมกันประมาณ 2-3 คืน กบจะผสมพันธุ์และวางไข่ในช่วงเวลา 04.00-06.00 น. เมื่อเห็นว่ากบออกไข่แล้วให้นำพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์ออกจากบ่อ เพื่อป้องกันไม่ให้แพไข่แตก


การอนุบาลลูกกบวัยอ่อน 

            เมื่อไข่กบฟักออกเป็นตัวอ่อนแล้ว ช่วง 2 วันแรกไม่ต้องให้อาหาร เพราะลูกอ๊อดยังใช้ไข่แดงที่ติดมาเลี้ยงตัวเอง หลังจากนั้นจึงเริ่มให้อาหารเม็ดสำหรับลูกกบวันละ1 ครั้ง ครั้งละประมาณ 1 กำมือ หรืออาจให้ไข่แดงบดเป็นอาหารแทนก็ได้ ซึ่งเฉลี่ยแล้วใช้วันละ 2-3 ฟองต่อลูกอ๊อด 1 ครอกเมื่อลูกอ๊อดมีอายุ 20-30 วัน จึงเป็นลูกกบเต็มวัย ในช่วงนี้ต้องนำไม้ไผ่มาทำเป็นแพหรือแผ่นโฟมลอยน้ำเพื่อให้ลูกกบเต็มวัยขึ้นไปอาศัยอยู่ เพราะลูกอ๊อดจะโตเต็มวัยไม่พร้อมกัน อาจมีการรังแกกันจนเกิดแผลทำให้ลูกกบตายได้ ดังนั้น จึงต้องลงมือคัดลูกกบขนาดตัวยาว 2 เซนติเมตร ไปเลี้ยงในบ่อที่เตรียมไว้ บ่อละ 1,000 ตัว

การดูแลและเลี้ยงกบเต็มวัยจนเป็นกบโต 

           เมื่อคัดลูกกบนำไปเลี้ยงในบ่อแล้ว ใส่วัชพืชน้ำและวัสดุลอยน้ำลงไป เช่น แพไม้ไผ่หรือแผ่นโฟม เพื่อให้กบขึ้นไปอาศัยอยู่ และนำทางมะพร้าวมาคลุมบ่อเพื่อบังแดดด้วยในช่วงที่คัดลูกกบลงบ่อซีเมนต์ใหม่ ๆ นี้ ให้ใช้อาหารเม็ดสำหรับเลี้ยงลูกกบไประยะหนึ่งก่อนเมื่อกบโตขึ้นจึงค่อยให้อาหารเม็ดสำหรับเลี้ยงกบโตวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ในอัตรา 3% ของน้ำหนักตัวกบ คือ ถ้ากบน้ำหนัก 100 กิโลกรัม ก็ให้อาหารวันละ 3 กิโลกรัมในขั้นตอนนี้ใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 3 เดือน ก็สามารถจับกบจำหน่ายได้

ตลาด/แหล่งจำหน่าย 

           ส่งขายตามตลาดสดทั่วไป หรือร้านอาหาร 

สถานที่ให้คำปรึกษา
          1. กองส่งเสริมการประมง กรมประมง โทร. 561-4689
          2. สำนักงานประมงจังหวัดและอำเภอ 
ข้อแนะนำ
          1. การเลี้ยงกบต้องระวังเรื่องความสะอาดขณะสูบบุหรี่ใกล้บริเวณบ่อ  ระวังอย่าให้ขี้บุหรี่ตกลงไปในบ่อเด็ดขาด เพราะลูกกบจะตายยกบ่อ
          2. การเลี้ยงกบ  ต้องคัดลูกกบขนาดเท่ากันไปเลี้ยงในบ่อเดียวกันห้ามเลี้ยงลูกกบคนละขนาดเด็ดขาด เพราะลูกกบจะกินกันเอง
          3. การเลี้ยงกบควรกะระยะเวลา 4 เดือน ในการจับจำหน่าย อย่าให้ตรงกับช่วงฤดูฝน เพราะกบราคาถูก
          4.  อาหารกบ นอกจากอาหารเม็ดแล้ว  สามารถใช้เนื้อปลาสับหรือเนื้อหอยโข่งก็ได้
          5. ก่อนที่จะปล่อยแม่พันธุ์กบลงผสมพันธุ์ ต้องสังเกตแม่พันธุ์กบว่าตัวเริ่มฝืด มีปุ่มหนาม แสดงว่าพร้อมจะผสมพันธุ์ หากปล่อยลงไปแล้ว 2-3 วัน ยังไม่เห็นไข่กบก็จับพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์มาแยกเลี้ยงอีกระยะหนึ่ง แล้วค่อยนำมาผสมพันธุ์ใหม่

จาก : http://region3.prd.go.th/problempoor/sme_frog.htm

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง



ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีหลักพิจารณาอยู่ 5 ส่วน





1.กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย และวิกฤตเพื่อความมั่นคง และความยั่งยืนของการพัฒนา
2.คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน
3.คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ พร้อม ๆ กัน ดังนี้
3.1 ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไป และไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่นเช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
3.2 ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ
3.3 การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึง ความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
4.เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน
4.1 เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้านความรอบคอบ ที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
4.2 เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วยมีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียรใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
5.แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืนพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง ในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี

จาก : http://www.thaiall.com/research/sufficiency.htm